การจัดการอุตสาหกรรม จบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง
ถาม บริหาร Industrial management การจัดการอุตสาหกรรม จบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้างครับ เช่นตำแหน่งอะไรครับ ต้องทำงานในโรงงานอย่างเดียวหรอ สนใจสาขานี้แต่ไม่รุ้ว่าหลังจบการทำงานเป็นยังไง ช่วยแนะนำด้วยครับ ไม่ค่อยมีรายละเอียดของสาขานี้เลย
ตอบ เรียนเกี่ยวกับ ประเภทของสินค้าและบริการ, โครงสร้างและวิวัฒนาการของการบริหารการผลิต, การบริหารอุตสาหกรรมและการควบคุมต้นทุนการผลิต, การวิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละระบบ, การเรียนรู้ทฤษฏีเกี่ยวกับการจัดการโรงงานสมัยใหม่, การพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรมโดยการใช้กลยุทธ์ระบบแบบทันเวลาพอดี(Just-in-time, JIT), การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management, TQM), การควบคุมคุณภาพและการรบประกันคุณภาพ
การจัดการอุตสาหกรรม จะเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการภายในบริษัท หรือโรงงานที่มีกิจกรรมการผลิต เป็นการบริหารจัดการระบบสายการผลิต จะจัดสรรสต็อกอย่างไร สั่งของแค่ไหน จะจัดสรรคนเท่าไร บริหารต้นทุนการผลิตให้เหมาะสม ทำอะไรก่อน อะไรหลังในสายการผลิต อาชีพก็คืองานบริหารโรงงาน หรือบริษัทที่มีสายการผลิตสินค้าหรือบริการ
เนื้อหาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม ได้แก่
1. เป็นการศึกษาวิชาการบริหารจัดการธุรกิจเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการจัดการและประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือทำงานด้านบริหารธุรกิจ เช่น ระบบบัญชีเบื้องต้น บัญชีต้นทุน การจัดการทางบัญชี การจัดการงบประมาณ การบริหารจัดการองค์กร ความรู้ด้านการภาษีอากร การเงินธุรกิจ การศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการทางอุตสาหกรรม การบริหารแรงงานสัมพันธ์ การจัดการงานผลิต การวิจัยดำเนินงาน
2. เป็นการศึกษาเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต ในการประกอบกิจการ เช่น การวางแผนและควบคุมการผลิต กาจัดการประกันคุณภาพสินค้า การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยในอุตสาหกรรม การศึกษาและวิเคราะห์การทำงานเพื่อลดต้นทุน การบริหารจัดการธุรกิจส่วนตัว การแก้ปัญหาโดยใช้เทคนิควิศวกรรมอุตสาหการ ในกระบวนการเรียนการสอน
IM ย่อมาจาก Industrial Management ครับ ซึ่งก็แปลว่า การจัดการอุตสาหกรรมนั่นเอง
จริงๆ แล้วในประเทศไทยมีหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนคล้ายๆ กัน (แต่ไม่เหมือนกันนะครับ) อยู่ 4 หลักสูตรคือ (1) วิศวกรรมอุตสาหการ, (2) การจัดการหรือการบริหารอุตสาหกรรม, (3) เทคโนโลยีการผลิตหรือวิศวกรรมการผลิต และ (4) เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering;IE) นั้นจะเรียนวิชาที่เป็นพื้นฐานทางวิศวกรรมค่อนข้างแน่นกว่าสาขาอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้บัณฑิตที่จบออกไปเป็นวิศวกรนั้นจะมีสิ่งที่เรียกว่า "Engineering Sense" หรือ "เซนส์ด้านวิศวกรรม" สูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด นั่นคือจะค่อนข้างคิดอะไรเป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผล และเข้าถึงตลอดจนใช้งานอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีได้คล่องแคล่วกว่า จุดอ่อนของวิศวกรรมอุตสาหการคือขาดความรู้ด้านธุรกิจ นอกเสียจากนักศึกษาจะขวนขวายด้วยการลงทะเบียนวิชาด้านธุรกิจเป็นวิชาเลือก
การจัดการอุตสาหกรรมหรือการบริหารอุตสาหกรรม (IndustrialManagement;IM) เป็นสาขาวิชาทีมักจะสังกัดในคณะบริหารธุรกิจ ดังนั้นวิชาพื้นฐานที่เรียนก็จะเป็นพวกบัญชี การเงิน การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์ สังเกตได้ว่าบัณฑิตที่จบไปจะได้วุฒิเป็น "บริหารธุรกิจบัณฑิต" นั่นคือจะมีความสามารถในการจัดการที่ค่อนข้างโดดเด่น รู้และเข้าใจภาพรวมทางธุรกิจได้ชัดเจน แต่มีจุดอ่อนด้านเทคโนโลยีหรือวิศวกรรมเนื่องจากไม่ได้รับการปูพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์นั่นเอง ทำให้เมื่อจบออกไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมจะต้องปรับตัวอย่างมากในช่วงแรกๆ
เทคโนโลยีการผลิต (Production Technology) บัณฑิตที่จบจากสาขานี้มักได้รับวุฒิเป็น "วิทยาศาสตร์บัณฑิต" หรือ "วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต" การเรียนจะเน้นไปที่วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและเป็นพื้นฐานของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งการที่จะเข้าใจกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมที่หลากหลายนั้นจำเป็นที่ต้องเรียนเรื่องที่เกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิตอย่างเข้มข้น เช่น เคมี ชีวเคมี ฟิสิกส์ กรรมวิธีการผลิตทางเคมี กรรมวิธีการผลิตทางกล การหล่อ การกลึง ฯลฯ ดังนั้นความรู้ด้านการบริหารจัดการทางธุรกิจจึงเป็นสิ่งที่บัณฑิตในสาขานี้ต้องปรับตัวอย่างมากเมื่อจบออกไปทำงาน อย่างไรก็ตามบัณฑิตด้านวิศวกรรมการผลิตจะมีความโดดเด่นเรื่องทักษะเชิงช่างมากกว่าวิศวกรรมอุตสาหการ
เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม (Industrial Management ;IM) เป็นสาขาที่บูรณาการหรือควบรวมศาสตร์ด้านวิศวกรรมอุตสาหการเข้ากับศาสตร์ด้านการบริหารอุตสาหกรรม (IE+IM) บัณฑิตที่จบออกไปจึงมักได้รับวุฒิเป็น "วิทยาศาสตร์บัณฑิต" หรือ "วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต" แล้วแต่สถาบันการศึกษาและคณะที่สังกัด วิชาที่เรียนจะเน้นไปที่การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Management Science) ซึ่งอาศัยข้อมูลเชิงสถิติและวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในอุตสาหกรรม นอกจากนี้นักศึกษายังจะเรียนวิชาต่างๆ ที่สอดคล้องกับตำแหน่งงานในอุตสาหกรรม เช่น การควบคุมคุณภาพ (QC) , การจัดการวัสดุและการจัดซื้อ (Purchasing and Material Control), การจัดการขนส่งและโลจีสติกส์, การวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planning Control), ระบบบำรุงรักษา (Machine Maintenance) ฯลฯ
กล่าวโดยสรุป IM หรือ การจัดการอุตสาหกรรม คือทางเลือกของนักศึกษาที่มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการทำงานในภาคอุตสาหกรรม เพราะเมื่อเรียนจบแล้วนักศึกษาจะสามารถเข้าทำงานได้ในหลายตำแหน่ง แล้วแต่ความชอบและความถนัดของนักศึกษาเอง ซึ่งต่างจากสาขาอื่นๆ ที่มีกรอบของวิชาชีพกำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์,สารสนเทศ,วิทยาการคอมพิวเตอร์จบไปก็ต้องไปทำงานในแผนกที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ หรือ เทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์จบไปก็ทำงานในแผนกที่เกี่ยวข้องกับด้านไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง
พูดอย่างไม่เข้าข้างตัวเองนะครับ เรียนจบ IMTหางานทำง่ายที่สุดแล้ว!
จากข้อมูลบนเว็บไซต์หางานชั้นนำอย่าง www.jobsdb.com หากเราลองค้นหาตำแหน่งงานที่รับ วท.บ. (การจัดการอุตสาหกรรม) เข้าทำงานจะพบว่า
ค้นหาด้วยตำแหน่ง Production หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิต/วางแผนการผลิต พบตำแหน่งงานว่างถึงกว่า 294 ตำแหน่ง
ค้นหาด้วยตำแหน่ง Purchase/Procurement/Buyer หรือเจ้าหน้าที่จัดซื้อ พบตำแหน่งงานว่างถึงกว่า 285 ตำแหน่ง
ค้นหาด้วยตำแหน่ง QC/QA หรือเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ พบตำแหน่งงานว่างถึงกว่า 335 ตำแหน่ง
ค้นหาด้วยตำแหน่ง Warehouse หรือเจ้าหน้าที่คลังสินค้า พบตำแหน่งงานว่างถึง 93 ตำแหน่ง
ค้นหาด้วยตำแหน่ง Logistics หรือเจ้าหน้าที่โลจีสติกส์ พบตำแหน่งงานว่างถึงกว่า 95 ตำแหน่ง
ค้นหาด้วยตำแหน่ง Document control หรือ เจ้าหน้าที่ระบบ ISO พบตำแหน่งงานว่างถึงกว่า 24 ตำแหน่ง
หรือหากต้องการรับราชการ บัณฑิตจาก IM ของเราก็สามารถสอบเข้ารับราชการได้ในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อบต. / อบจ.) หรือสอบบรรจุเป็นครูผู้สอนในวิทยาลัยเทคนิค, วิทยาลัยการอาชีพต่างๆ เป็นต้น
ปล. เชื่อหรือไม่ว่าตำแหน่ง "เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์" นั้น พบตำแหน่งงานว่างเพียง 3 ตำแหน่งงานเท่านั้น!
แหล่งที่มา : http://www.unigang.com/Topic/6986
ถาม บริหาร Industrial management การจัดการอุตสาหกรรม จบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้างครับ เช่นตำแหน่งอะไรครับ ต้องทำงานในโรงงานอย่างเดียวหรอ สนใจสาขานี้แต่ไม่รุ้ว่าหลังจบการทำงานเป็นยังไง ช่วยแนะนำด้วยครับ ไม่ค่อยมีรายละเอียดของสาขานี้เลย
ตอบ เรียนเกี่ยวกับ ประเภทของสินค้าและบริการ, โครงสร้างและวิวัฒนาการของการบริหารการผลิต, การบริหารอุตสาหกรรมและการควบคุมต้นทุนการผลิต, การวิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละระบบ, การเรียนรู้ทฤษฏีเกี่ยวกับการจัดการโรงงานสมัยใหม่, การพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรมโดยการใช้กลยุทธ์ระบบแบบทันเวลาพอดี(Just-in-time, JIT), การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management, TQM), การควบคุมคุณภาพและการรบประกันคุณภาพ
การจัดการอุตสาหกรรม จะเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการภายในบริษัท หรือโรงงานที่มีกิจกรรมการผลิต เป็นการบริหารจัดการระบบสายการผลิต จะจัดสรรสต็อกอย่างไร สั่งของแค่ไหน จะจัดสรรคนเท่าไร บริหารต้นทุนการผลิตให้เหมาะสม ทำอะไรก่อน อะไรหลังในสายการผลิต อาชีพก็คืองานบริหารโรงงาน หรือบริษัทที่มีสายการผลิตสินค้าหรือบริการ
เนื้อหาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม ได้แก่
1. เป็นการศึกษาวิชาการบริหารจัดการธุรกิจเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการจัดการและประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือทำงานด้านบริหารธุรกิจ เช่น ระบบบัญชีเบื้องต้น บัญชีต้นทุน การจัดการทางบัญชี การจัดการงบประมาณ การบริหารจัดการองค์กร ความรู้ด้านการภาษีอากร การเงินธุรกิจ การศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการทางอุตสาหกรรม การบริหารแรงงานสัมพันธ์ การจัดการงานผลิต การวิจัยดำเนินงาน
2. เป็นการศึกษาเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต ในการประกอบกิจการ เช่น การวางแผนและควบคุมการผลิต กาจัดการประกันคุณภาพสินค้า การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยในอุตสาหกรรม การศึกษาและวิเคราะห์การทำงานเพื่อลดต้นทุน การบริหารจัดการธุรกิจส่วนตัว การแก้ปัญหาโดยใช้เทคนิควิศวกรรมอุตสาหการ ในกระบวนการเรียนการสอน
IM ย่อมาจาก Industrial Management ครับ ซึ่งก็แปลว่า การจัดการอุตสาหกรรมนั่นเอง
จริงๆ แล้วในประเทศไทยมีหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนคล้ายๆ กัน (แต่ไม่เหมือนกันนะครับ) อยู่ 4 หลักสูตรคือ (1) วิศวกรรมอุตสาหการ, (2) การจัดการหรือการบริหารอุตสาหกรรม, (3) เทคโนโลยีการผลิตหรือวิศวกรรมการผลิต และ (4) เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering;IE) นั้นจะเรียนวิชาที่เป็นพื้นฐานทางวิศวกรรมค่อนข้างแน่นกว่าสาขาอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้บัณฑิตที่จบออกไปเป็นวิศวกรนั้นจะมีสิ่งที่เรียกว่า "Engineering Sense" หรือ "เซนส์ด้านวิศวกรรม" สูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด นั่นคือจะค่อนข้างคิดอะไรเป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผล และเข้าถึงตลอดจนใช้งานอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีได้คล่องแคล่วกว่า จุดอ่อนของวิศวกรรมอุตสาหการคือขาดความรู้ด้านธุรกิจ นอกเสียจากนักศึกษาจะขวนขวายด้วยการลงทะเบียนวิชาด้านธุรกิจเป็นวิชาเลือก
การจัดการอุตสาหกรรมหรือการบริหารอุตสาหกรรม (IndustrialManagement;IM) เป็นสาขาวิชาทีมักจะสังกัดในคณะบริหารธุรกิจ ดังนั้นวิชาพื้นฐานที่เรียนก็จะเป็นพวกบัญชี การเงิน การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์ สังเกตได้ว่าบัณฑิตที่จบไปจะได้วุฒิเป็น "บริหารธุรกิจบัณฑิต" นั่นคือจะมีความสามารถในการจัดการที่ค่อนข้างโดดเด่น รู้และเข้าใจภาพรวมทางธุรกิจได้ชัดเจน แต่มีจุดอ่อนด้านเทคโนโลยีหรือวิศวกรรมเนื่องจากไม่ได้รับการปูพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์นั่นเอง ทำให้เมื่อจบออกไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมจะต้องปรับตัวอย่างมากในช่วงแรกๆ
เทคโนโลยีการผลิต (Production Technology) บัณฑิตที่จบจากสาขานี้มักได้รับวุฒิเป็น "วิทยาศาสตร์บัณฑิต" หรือ "วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต" การเรียนจะเน้นไปที่วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและเป็นพื้นฐานของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งการที่จะเข้าใจกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมที่หลากหลายนั้นจำเป็นที่ต้องเรียนเรื่องที่เกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิตอย่างเข้มข้น เช่น เคมี ชีวเคมี ฟิสิกส์ กรรมวิธีการผลิตทางเคมี กรรมวิธีการผลิตทางกล การหล่อ การกลึง ฯลฯ ดังนั้นความรู้ด้านการบริหารจัดการทางธุรกิจจึงเป็นสิ่งที่บัณฑิตในสาขานี้ต้องปรับตัวอย่างมากเมื่อจบออกไปทำงาน อย่างไรก็ตามบัณฑิตด้านวิศวกรรมการผลิตจะมีความโดดเด่นเรื่องทักษะเชิงช่างมากกว่าวิศวกรรมอุตสาหการ
เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม (Industrial Management ;IM) เป็นสาขาที่บูรณาการหรือควบรวมศาสตร์ด้านวิศวกรรมอุตสาหการเข้ากับศาสตร์ด้านการบริหารอุตสาหกรรม (IE+IM) บัณฑิตที่จบออกไปจึงมักได้รับวุฒิเป็น "วิทยาศาสตร์บัณฑิต" หรือ "วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต" แล้วแต่สถาบันการศึกษาและคณะที่สังกัด วิชาที่เรียนจะเน้นไปที่การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Management Science) ซึ่งอาศัยข้อมูลเชิงสถิติและวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในอุตสาหกรรม นอกจากนี้นักศึกษายังจะเรียนวิชาต่างๆ ที่สอดคล้องกับตำแหน่งงานในอุตสาหกรรม เช่น การควบคุมคุณภาพ (QC) , การจัดการวัสดุและการจัดซื้อ (Purchasing and Material Control), การจัดการขนส่งและโลจีสติกส์, การวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planning Control), ระบบบำรุงรักษา (Machine Maintenance) ฯลฯ
กล่าวโดยสรุป IM หรือ การจัดการอุตสาหกรรม คือทางเลือกของนักศึกษาที่มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการทำงานในภาคอุตสาหกรรม เพราะเมื่อเรียนจบแล้วนักศึกษาจะสามารถเข้าทำงานได้ในหลายตำแหน่ง แล้วแต่ความชอบและความถนัดของนักศึกษาเอง ซึ่งต่างจากสาขาอื่นๆ ที่มีกรอบของวิชาชีพกำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์,สารสนเทศ,วิทยาการคอมพิวเตอร์จบไปก็ต้องไปทำงานในแผนกที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ หรือ เทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์จบไปก็ทำงานในแผนกที่เกี่ยวข้องกับด้านไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง
พูดอย่างไม่เข้าข้างตัวเองนะครับ เรียนจบ IMTหางานทำง่ายที่สุดแล้ว!
จากข้อมูลบนเว็บไซต์หางานชั้นนำอย่าง www.jobsdb.com หากเราลองค้นหาตำแหน่งงานที่รับ วท.บ. (การจัดการอุตสาหกรรม) เข้าทำงานจะพบว่า
ค้นหาด้วยตำแหน่ง Production หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิต/วางแผนการผลิต พบตำแหน่งงานว่างถึงกว่า 294 ตำแหน่ง
ค้นหาด้วยตำแหน่ง Purchase/Procurement/Buyer หรือเจ้าหน้าที่จัดซื้อ พบตำแหน่งงานว่างถึงกว่า 285 ตำแหน่ง
ค้นหาด้วยตำแหน่ง QC/QA หรือเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ พบตำแหน่งงานว่างถึงกว่า 335 ตำแหน่ง
ค้นหาด้วยตำแหน่ง Warehouse หรือเจ้าหน้าที่คลังสินค้า พบตำแหน่งงานว่างถึง 93 ตำแหน่ง
ค้นหาด้วยตำแหน่ง Logistics หรือเจ้าหน้าที่โลจีสติกส์ พบตำแหน่งงานว่างถึงกว่า 95 ตำแหน่ง
ค้นหาด้วยตำแหน่ง Document control หรือ เจ้าหน้าที่ระบบ ISO พบตำแหน่งงานว่างถึงกว่า 24 ตำแหน่ง
หรือหากต้องการรับราชการ บัณฑิตจาก IM ของเราก็สามารถสอบเข้ารับราชการได้ในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อบต. / อบจ.) หรือสอบบรรจุเป็นครูผู้สอนในวิทยาลัยเทคนิค, วิทยาลัยการอาชีพต่างๆ เป็นต้น
ปล. เชื่อหรือไม่ว่าตำแหน่ง "เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์" นั้น พบตำแหน่งงานว่างเพียง 3 ตำแหน่งงานเท่านั้น!
แหล่งที่มา : http://www.unigang.com/Topic/6986
โอ้พระเจ้า...
ตอบลบสามารถสอบครู ในเอกอุสาหกรรมศิลป์ ได้ไหมคะ
ตอบลบสอบได้นะครับ เคยเห็นประกาศรับสมัครเป็นระยะๆ
ลบคนตาบอดสีเรียนได้ไหมคะ
ตอบลบเรียนได้ครับ แต่ต้องไม่ไปทำงานใน Production Line หรือที่ต้องใช้ตาบอกสี และรหัสการบอกสีเป็นสัญญาณต่างๆ นะครับ
ลบตอนนี้ ปี 61 หางานไม่ได้เลยค่าาาา
ตอบลบจบ IMT มีงานเยอะนะครับ ถ้าไม่เลือกงาน นศ.ที่จบไปได้งานทุกคนครับ หางานตาม www.Jobdb.com ดูนะครับ
ลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบเชิญเข้ามา แลกเปลี่ยน ข้อมูล และประสบการณ์ในงานด้านการจัดการอุตสาหกรรม กันนะครับ
ลบหรือแนะนำการทำงานทางอุตสาหกรรมให้แก่สมาชิกกันนะครับ
สอบครู เทคนิคพื้นฐานได้ไหมคะ
ตอบลบเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม ต้องเรียนเคมี ฟิสิกส์ชีวะไหมค่ะ
ตอบลบทำงานในหน่วยงานราชการได้ไหมครับเช่นการไฟฟ้าอะครับ
ตอบลบ